วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  16 
ประจำวันที่  28  เมษายน  พ.ศ.  2558

 
** เรียนชดเชยในวันจันทร์  ที่  13  เมษายน  วันปีใหม่ไทย
 
ความรู้ที่ได้รับ
   
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  ( Individualized  Education  Program  )
 
แผน  IEP.
     เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศาแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถ  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  ดดยระบุเวลาเริ่มต้น และ สิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลของเด็ก
 
การเขียนแผน  IEP. 
     โดยครูประจำชั้น  พ่อแม่  แพทย์  ผู้เชี่ยวชาญเแพาะทาง  ผู้บริหารโรงเรียน  ** แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ครูประจำชั้นเป็นผู้เขียนเพียงคนเดียว **
      คัดแยกเด็กพิเศษ  เราต้องรู้จักเด็กอย่างท่องแท้  ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร  ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ ๆ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือ  เด็กจากจุดใหน  ในทักษะใด  แล้วจึงเริ่มทำการเขียนแผน  IEP.
      รู้ทั้งพฤติกรรมทั้งที่บ้าน และ ที่โรงเรียน  อยู่กับใคร  ที่บ้านมีใครบ้าง  ถนัด,จุดอ่อน พฟติกรรมที่ดี / ไม่ดี  ชอบ / ไม่ชอบอะไร
 
 
IEP.  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัว
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้ในขณะปัจจุบัน
  • ** เป้าหมายระยะยาวประจำปี  /  ระยะสั้น
  • ระบุวัน  /  เดือน  /  ปี  ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
** อนุบาล 1  เทอม  1  สามารถใช้แผนเหมือนเพื่อนได้ เพื่อเรียนรู้เด็ก  มีการจดบันทึก  พฤติกรรมเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปเขียนแผน  IEP.
 
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง 
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่าต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กได้เข้าเรียนจะไม่จัดอยู่ให้เข้าเรียนเฉย ๆ มีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนที่เหมาะสม
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • แนวทางในการประเมินผลการเรียน และการเขียนรายงานพัฒนาการความสามารถของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน IEP. เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้กับลูกของตน
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1. การรวบรวมข้อมูล    รายงานทางการแพทย์   รายงานการประเมินด้สนต่าง ๆ    บันทึกจากครู  ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. การจัดทำแผน    มีการนัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง  พร้อมทั้งกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น  กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม  และที่สำคัญจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
จุดมุ่งหมายระยะยาว
    กำหนดให้ชัดเจน  กว้าง ๆ เข้าใจง่าย  โดยกำหนดให้ระยะเวลาใน  1  ปีนี้เด็กต้องทำได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
    ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ  2-3 วัน  หรือ  2-3  สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไร  ที่ไหน  ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
เช่น     ใคร                                อรุณ
            อะไร                             กระโดดขาเดียว
            เมื่อไหร่ / ที่ไหน           กิจกรรมกลางแจ้ง
            ดีขนาดไหน                  กระโดดขาละ  5  ครั้งในเวลา  30  วินาที
 
     3.   การใช้แผน    ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น  ทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  ขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก   และจัดเตรียมสือ และ อุปกรณ์การสอน  มีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็กและความสามารถ  โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชีวัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสื่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
     4.  การประเมินผล    โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง  ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์การวัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือกิจกรรม     อาจใช้วิธีวัดและเกณฑ์กำหนดที่แตกต่างกัน **
 
 
 
กิจกรรมภายในห้อง
 
** เขียนแผน IEP. เป็นกลุ่ม  พร้อมทั้้งให้ทำข้อสอบเขียนแผน IEP. โดยจับคู่กับเพื่อนสนิทแล้วแลกเปลี่ยนกันเป็นเด็ก
 
** สอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
 
การนำไปประยุกต์ใช้
 
1.  สามารถนำเพลงที่ได้ร้องนั้นไปใช้ในการเก็บเด็กให้อยู่ในความสงบก่อนทำการสอน / จัดกิจกรรมได้
2.  สามารถนำแผน IEP. นั้นไปใช้เขียนเพื่อพัฒนาเด็กพิเศษได้
3.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผน  IEP.  มากขึ้น
 
 
การประเมิน
 
ตนเอง       ประเมินโดยภาพรวมในเทมอนี้เรียนราบวิชาการศึกษาแบบเรียนรวมนั้นมีความสุขดีมาก  พร้อมกระตือรือร้นที่จะเรียนมาก โดยการเข้าเรียนตรงต่อเวลาเกือบทุกครั้ง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  พร้อมทั้งมีการสนทนาโด้ตอบระหว่างเรียนด้วย โดยการตอบคำถามอาจารย์ทุกคำถามที่ถาม  สนใจในการทำกิจกรรม  และร่วมถึงการตั้งใจฝึกฝนร้องเพลงสำหรับเด็กมาก
 
เพื่อน        ประเมินโดยภาพรวม  เพื่อน ๆ ทุกคนน่ารักมากช่วยเหลือกันในทุกเรื่องที่ช่วยได้  ส่วนมากก็จะเข้าเรียนตรงเวลาเสมอ  แต่งกายผ่านค่ะสุภาพเรียบร้อย
 
อาจารย์    น่ารัก  สอนเข้าใจง่าย  มีการยกตัวอย่างประกอบเสมอเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น  เข้าสอนตรงเวลา พร้อมทั้งมีเกมสนุก ๆ ให้เล่นก่อนเข้าบทเรียนเสมอเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
 
 
 
 
     
     
     
     
 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  15
ประจำวันที่  20  เมษายน  พ.ศ.  2558


กิจกรรมก่อนเรียน
 
** ดิ่งพสุธา **
การปลดปล่อยอารมณ์


 
 


 การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
" ทักษะพื้นฐานทางการเรียน "
 
  • เป้าหมาย
     เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง  เด็กรู้สึกว่า  " ฉันทำได้ "  เป็นความรู้สึกดีต่อตนเอง  พัฒนาความกระตือรือร้น  ความอยากรู้อยากเห็น และอยากสำรวจ อยากทดลอง
  • ช่วงความสนใจ
     ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น ๆ จดจอต่อกิจกรรมในช่ววลาหนึ่งได้นานพอสมควร
-  เด็กปกติ  10  -  15  นาที
 
-  เด็กพิเศษ  ไม่เิน  5  นาทีเท่านั้น ** โดยเฉพาะเด็กสมาธิสั้น **
 
  • การเลียนแบบ
    วิธีการสอนเด็กพิเศษคือ  จับคู่เด็กพิเศษกับเด็กปกติ  แล้วครูเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนเพื่อตั้งตัว จากนั้นเรียอกชื่อเด็กปกติ แล้วบอกคำสั่ง  ** จะเกิดการเลียบแบบขึ้น คือเด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ
  • การเล่านิทานสำหรับเด็กพิเศษ
    มีเนื้อหาที่ไม่ยาว  5  -  6  หน้าต่อเรื่อง   นิทานมีความน่าสนใจ  มีสี  ภาพ  ลูกเล่นในนิทาาน
** อาทิตย์ต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ไร่ระดับความยามของเนื้อเรื่อง   กิจกรรมต่าง ๆ ควร" สั้น  กระชับ  ฉับไว  "
  • การทำตามคำสั้ง  และ  คำแนะนำ
    เด็กจะต้องได้ยินสิ่งที่ครูพูด / สั่งอย่างชัดเจน  รวมถึงการเข้าใจในคำศัพท์ที่ครูใช้ โดยการสังเกตจากบริบทต่างๆ ที่แสดงออกมา ว่า เด็กรู้จัก หรือไม่  และที่สำคัญคือ  คำสั่งต้องไม่ยุ่งยาก  ซับซ้อน ความมี  2  คำสั่ง
  • การรับรู้  การเคลื่อนไหว
    ได้ยิน  สัมผัส  ลิ้มรส  ได้กลิ้น  แล้ว  มีการตอบเสนองอย่างเหมาะสม
** เด็กพิเศษ  ประสาทสัมผัสทั้ง  5  จะช้ามากในการตองสนองความรู้สึกต่าง ๆ
  • การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
    กิจกรรม
-  การกรอกน้ำ  ตวงน้ำ
-  ต่อบล็อก
-  ศิลปะ
-  มุมบ้าน
-  การช่วยเหลือตนเอง
  • ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็ก
-  ลูกปัดขนาดใหญ่
-  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
 
 
 
 
 
  •    ความจำ  (  สิ่งที่ผ่านไปแล้วรอบ ๆ ตัวเด็ก  )
  จากการสนทนา  เช่น  เมื่อเช้าหนูทานอะไรมา??  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง ??  การจำตัวนิทาน  การจำชื่อครู  ชื่อเพื่อน ( ควรเรียกชื่อเด็กอย่างสม่ำสมอเพื่อให้เด็กพิเศษได้ิน  )  การเล่นเกมทายของที่หายไป
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
การนับ                                         สังเกต
การตรวจ / วัด                              สำรวจ
การจำแนก                                  ทดลอง
การเปรียบเทียบ
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
   จัดกลุ่มเด็ก  เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น  ๆ  ใช้งานเด็อย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน   ติดชื่อเด็กตามที่นั้ง  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย   เช่น  ระบายสีตรงนี้นะค่ะ  กระดาษแผ่นนี้นะค่ะ  ห้ามเลอะออกนอกกระดาษนะค่ะ    รวมถึงต้องมีการจดบันทึกเสมอว่าเด็กชอบอะไรที่สุด  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือเด็ก  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่เด็กจะมาถึง  โดยครูจะต้องพูในทางที่ดี  /  ทางบวกเสมอ  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว  และครูจัดกิจกรรมให้สนุกและน่าสนใจ
 
 
  
     
     การประยุกต์ใช้
     
    1.   สามารถนำไปจัดการเรียนแบบเรียนรวมได้  ระหว่าง  เด็กปกติ+เด็กพิเศษ
    2.  เข้าใจถึงธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น
    3.  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้
     
    การประเมิน
     
    ตนเอง    ตั้งใจเรียนดีมาก  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลาดี  ร่วมสนทนาและตอบคำถามอย่างสม่ำเสมอ  มีความสุขในการเรียนมากค่ะ
     
    เพื่อน     ตั้งใจเรียนดีพอสมควร  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนสาวนใหญ่ตรงต่อเวลาดี
     
    อาจารย์    แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เรียนสนุกสนานเข้าใจง่ายไม่เคร่งเครียดมากเกินไป ใส่ใจนักศึกษาเป็นอย่างดีพร้อมทั้งให้คำแนะนำตลอด  น่ารักค่ะ
     
     
     




วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  14
ประจำวันที่  15   เมษายน  พ.ศ.  2558

** งดการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันหยุด  วันปีใหม่ไทย
 

 

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  13
ประจำวันที่  6  เมษายน  พ.ศ.  2558
 
**  งดการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันหยุด 



 
 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  12 
ประจำวันที่  30  มีนาคม  พ.ศ.  2558




**  งดการเรียนการสอน  เนื่องจากย้ายมาเรียนวิชา  ศิลปสร้างสรรค์  ในเรื่องการเขียนแผนการสอนในกิจกรรม........สร้างสรรค์......


การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผน การเรียนการสอน ในกิจกรรมสร้างสรรค์ได้
2. ทำให้ทราบถึงการประเมินที่หลากหลาย และสอนคล้อง / เหมาะสมกับ พัฒนาการ
3. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในอนาคตได้


ประเมิน

ตนเอง ตั้งใจเรียนดี แต่การเขียนแผนกิจกรรมสร้างสรรค์นั้นต้องคิดกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับเด้กด้วย รวมถึงการประเมินนั้นต้องดูที่กระบวนการทำงานมากกว่า ชิ้นงาน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

เพื่อน เพื่อนมีจำนวนค่อนข้างเยอะ เนื่องจากสอนรวมทุกเกือบกลุ่ม เลยขาดสมาธีในการเรียน ไม่มีสมาธิเท่าที่ควร แต่งการเรียบร้อยดี

อาจารย์      คอยดูแลอยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ และคอยให้ปรึกษาแนะนำเพิ่อมเติม  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าสอนตรองเวลา  อาจารย์น่ารักเสมอ

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
ประจำวันที่  23  เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558

         สอบเก็บคะแนน 10  คะแนน  ในเรื่องต่าง ๆ ที่เรียนผ่าน ๆ มา โดยอาจารย์กำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ มาแล้วให้เขียนอภิปายตามคำถามที่อาจารย์ถาม
  5  ข้อ


ประเมิน 

     ตนเอง   ตั้งใจสอบ  เมื่ออ่านคำถามแล้ว ภาพอาจารย์ในเวลาที่สอนจะแว๊บเข้ามาในสมองทันที ทำให้เขียนตอบได้เร็ว ตามความเข้าใจ  ทำเต็มที่สุดความสามารถ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

    เพื่อน  ตั้งใจสอบมาก ทุกคนเคร่งเครียด

    อาจารย์    เข้าสอนตรงเวลา  คุมสอบได้แบบไม่มีโอกาสได้ลอกกันเด็ดขาดทั่วถึง  แต่ก็ยัง  น่า ให้ดูเอกสารประกอบการเรียนในตอนสอบได้  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  10
ประจำวันที่  16  เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

     กิจกรรมก่อนเรียน   เที่ยวไร่สตอเบอรี่


 
 

 
 
การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ     ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
 
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด 
การกินอยู่
เข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
 
 
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและเป็นผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
                                                            ** ความมั่นใจเกิดจาก
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
 
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  ( ใจแข็ง )
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กมากเกินไป   ทำให้แม้กระทั้งสิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้
  • ห้ามพูดคำว่า  หนูทำช้า  หนูยังทำไม่ได้
  • หากเด็กขอร้องเรื่องอะไรก็ช่วยเหลือ แค่เรื่องนั้น
  • การขอความช่วยเหลือบ่อยที่สุดคือการ เข้าห้องน้ำ
  • หากเด็กพิเศษทำช้า ต้องให้เด็กคนอื่นรอก่อน + การให้กำลังใจ  รอในบริเวณห้อง
  1. เพื่อความเสมอภาค
  2. ฝึกการรอคอย
  3. มีความสำคัญเท่ากัน
จะช่วยเมื่อไร
  • เด็กก็มีบางอารมณ์ที่ไม่อยากทำอะไร  หงุดหงิด  เบื่อ  ไม่ค่อยสบายตัว  งอแง
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว  ( สร้างความไว้ใจสำหรับ ครูกับนักเรียน )
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด้กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นการช่วยเหลือตนเอง
 
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย ๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
 
การเข้าส้วม 
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตระกร้า
  • กดชักโครก หรือ ตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เด็กออกจากห้องส้วม
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้น ๆ
  • ความสำเร็จครั้งเล็ก ๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั้นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
 


กิจกรรม   ต้นไม้แห่งจิตใจ
  • ให้ดูว่า จุดกึ่งกลาางของกระดาษอยู่ตรงไหน  แล้วนำสีเทียน 1 สีมาจุดกึ่งกลาง
  • เปลี่ยนสีระบายรอบ ๆ เป็นวงกลม  ทำไปเรื่อย ๆ จนพอใจ
  • วาดโครงร่างต้นไม้  แล้วนำของเด็กทุกคนไปติดที่โครงต้นไม้

 
 
ข้อดี
 
  • ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก  ความคิดสร้างสรรค์
  • ได้คณิตศาสตร์  มิติสัมพันธ์ 
  • ได้ฝึกสมาธิ
  • ได้ความร่วมมือของบุคคลในห้องเรียน
  • ครูสังเกตเด็กจากการใช้สี  ลักษณะเส้น
 
นำไปใช้
  1. นำกิจกรรมนี้ไปบำบัดจิตใจตนเองได้ เพื่อสงบจิตสงบใจ และสีสันจะช่วยให้สดใสขึ้น
  2. สามารถนำไปใช้ในการ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนรวม ได้
 
ประเมิน
  
        ตนเอง   ตั้งใจเรียนมาก สนใจในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่  เข้าเรียนต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
       เพื่อน   สนใจในการเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 
 
      อาจารย์  สอนได้เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
 
 

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  9
ประจำวันที่  9  เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมก่อนเรียน
  •     เที่ยว ทุ่งหญ้าซาวันน่า 

หากนักศึกษาได้ นั่งรถเที่ยวท่ามกลางทุ่งหญ้าซาวันน่าอย่างมีความสุข แล้วนักศึกษาเกิดเห็นภาพนี้ จะรู้สึกอย่างไร ?




 














ตอบ  รู้สึกว่าเป็นวงจรชีวิต ที่จะต้องมีผู้ล่าและผู้ถูกล่า เป็นธรรมดา

   เฉลย  ความรู้สึของการเห็นภาพนี้ คือ การปลดปล่อยอารมณ์ ที่เราได้ดูหนัง XX ครั้งแรก

ความรู้ที่ได้รับ
   
 การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ                  ทักษะภาษา
ตัวอักษรสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องเขียนตัวกลม หัวเหลี่ยม เนื่องจาก ฝึกกล้ามเนื้อมือ

การวัดความสามาถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบเสนองเมื่อมีคนพูดดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่าง ๆ ไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับผู้อื่นไหม
** ศัพท์แปลก ๆ หรือ หารแสดงท่าทาง

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
        เด็กพิเศา เหมือน เด็กอนุบาลทุกคน
  • การพูดตกหล่น
  • การพูดเสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • พูดติดอ่าง
** เด็กวัยอนุบาลใช้ภาษาได้ไม่สมบูรณ์แบบ
     เด็กวัยอนุบาลอวัยวะในการออกเสียงไม่แข็งแรง
     มีแบบวัดภาษาของเด็กปฐมวัย

การปฏิบัติของครูกับผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้า ๆ / ตามสบาย / คิดก่อนพูด   ( สำคัญ ห้ามเด็ดขาด )
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • ไม่เปลี่ยนมือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน  ควรสังเกตเด็กบ่อย ๆ
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
** เด็กพิเศษชอบสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด  อาจจะเป็นการแสดงท่าท่าง  เสียง 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา  ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน   ตามลำดับ
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ  ( บอกบท )
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและตอบโต้อย่างฉับไว ( ครูไม่พูดมากเกินไป )
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาเพียงการฟังอย่างเดียว  (ภาษาธรรมชาติ )
  • ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่ม
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง  โดยที่ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายแทนการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศารู้มากเท่าไร ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ครูทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์  ( Incidental Teaching )


 
 
ตัวอย่างเช่น
 
    น้องเป็นดาว์วินโดรม สวมผ้ากันเปื่อนพยายามมัดเชือกที่เอว  น้องต้องการให้ช่วย ผู้เชือกที่เอวให้ ( ครูรู้ว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือ )
หน้าที่ครู  คือ  เข้าไปใกล้ ๆ เด็กก็พอ เพื่อให้เด็กขอร้องให้ช่วย  โดยที่ครูไม่คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
ครูต้อง  ** บอกบท
ครูพูด  ไหนหนูผูกผ้ากันเปื้อนใช่ไหมค่ะ 
            พูดตามครูสิค่ะ  ผ้ากันเปื้อน  พูดซ้ำไปเรื่อย ๆ ผ้ากันเปื้อน
ครูตัดสินใจ คือ จะผูกให้ก็ต่อเมื่อ น้องพูดคำว่า ผ้ากันเปื้อน    แต่ถ้าหากน้องไม่พูดจริง ๆ ก็ผูกให้ไปเถอะ แต่ครูจะต้องพูดทุกครั้งที่ ทำการผูกผ้ากันเปื้อน  
**แล้วสักวันน้องจะพูดคำว่า ผ้ากันเปื้อน ได้เองสักวัน
 
กิจกรรมบำบัด  เด็กพิเศษ
    คำสั่ง
  • จับคู่ 2 คน
  • เปิดเพลงให้ฟัง
  • ลากเส้นไปพร้อม ๆ กับการฟังเพลง
  • ลากเส้นไปพร้อม ๆ กันทั้ง 2 คน  ให้เป็นเส้นตรงเท่านั้น  และห้ามยกสีขึ้น จนกว่าเพลงจะหยุด
  • ปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมจนเสร็จ  โดยที่มีบรรยากาศที่เงียบสงบ
  • จากนั้นดูภาพที่เป็น ช่องสามเหลี่ยม  ช่องสีเหลี่ยม แล้วระบายสีทุกช่อง 1 ช่อง 1 สี
 
 
 
 

 

 

 

 
 
ข้อดีในการทำกิจกรรม
  1. ฝึกสมาธิ  และ ได้ปลดปล่อยอารมณ์
  2. มิติสัมพันธ์
  3. ได้ส่งเสริมทักษะทางสังคม / ภาษา
** เด็กออสทิติก นิยมใช้การบำบัดวิธีนี้   และครูสามารถดูสภาพจิตใจของเด็กแต่ละคน จากการลากเส้น การใช้สีต่าง ๆ ในการระบายแต่ละช่อง
 
การนำไปใช้
  1. สามารถนำไปใช้ในการบำบัดได้ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ
  2. สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กในห้องเรียนร่มได้ และร่มถึงการทำความเข้าใจให้ลึกซึ่งได้
 
ประเมิน
 
          ตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา   สนใจเรียน + กิจกรรมอย่างเต็มที่  สนุกสนานมีความสุขในการเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
          เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม + กรเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
         อาจารย์    เข้าสอนตรงต่อเวลา  สอนได้ชัดเจนมีการยกตัวอย่างประกอบเสมอ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
 
 
     


วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  8 
ประจำวันที่  2 มีนาคม  2558

กิจกรรมก่อนเรียน    รถไฟเหาะแห่งชีวิต



ความรู้ที่ได้รับ     การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษจำขาดทักษะทางสังคม  ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่  
  • สำคัญที่สุดของทักษะทางสังคม  คือ  การใช้ชีวิต  การช่วยเหลือตนเอง  การดำรงชีวิตประจำวัน
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่าง ๆ ดี
  • ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง
  • ทักษะทางสังคมขึ้นอยู่กับ  แต่ละบุคคล
  • สภาพแวดล้อมมีผลไม่มาก สำหรับทักษะทางสังคม
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม  การเล่นคือการเรียนรู้
  • เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด้กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรที่น่าสำรวจ สัมผัส ดึก ผลัก
Ex. เพื่อนยื่อนขวางประตู เด็กพิเศษจะเห้นเพียงว่านี่คือเส้นทางในการเดินออกประตู เห็นเพื่อนเป็นแค่สิ่งกีดขวางต้องกำจัดออกไป เด็กพิเศษจำเดินชน  ผลัก  หรือ ดึง เพื่อให้เพื่อนออกไปพ้นจากทาง

ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลาย ๆ คนไม่รู้วิธีการเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไรบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน  IEP.   
การกระตุ้นหรือเลียนแบบการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เด้กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก 3-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
  • การเล่นเป็นกลุ่ม  โดย 3 :  1   ต้องมีการเลือกที่เหมาะสม
  • หลักการเลือก  กลุ่มที่สามารถดูแลเพื่อนได้  สนิทสนม 
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

  • อยู่ใกล้ ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
  • ** ห้ามเด็ดขาด คือ การ ห้ามหันหลังให้เด็ก


กิจกรรมเล่นทราย
1.  ให้เด็กเล่นทรายมือเปล่า สักระยะหนึ่ง
2.  เอาอุปกรณ์ไปแจกที่ล่ะชิ้น โดยค่อย ๆ เพิ่มเพื่อดึงดูดความสนใจ  จากนั้นก็ค่อย ๆ ให้อุปกรณ์ไปเรื่อย   ๆ
Ex.  ให้อุปกรณืน้อยกว่าครึ่งของจำนวนเด็กเสมอ  เช่น  มีเด็ก 4 คน แจกอุปกรณ์ ให้น้อยกว่า  2  ถ้าหากน้องไม่ยอมเปลี่ยนให้เพื่อนเล่นให้ทำเป็นเกม  คือ  ให้เด้ก ๆ แต่ล่ะคนใช้ช้อนตักทรายคนล่ะ 10 ช้อน
ข้อเสีของการแจกอุปกรณ์ให้เด็กเล่นทั้งหมดคือ   ไม่เกิดการแบ่งปัน   เด็กเล่นไม่ครบทุกชิ้น

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย   การพูดนำของครู   เด็กพิเศษต้องการคำพูดชี้นำจากครูมาก
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่าง เหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กเป็นเรื่องต่อรอง
การประยุกย์ใช้
  1. สามรถใช้ไปจัดห้องเรียนแบบเรียนรวมให้น่าอยู่ มีความสุข เท่าเทียมกันและเสมอภาคที่สุด เพื่อความสุขของนักเรียน
  2. สามารถนำไปใช้อ่านสอบในรายวิชา การศึกษาแบบเรียนรวมได้
  3. ปรับเปลี่ยน ทัศนคติการมอง เด็กพิเศษ
ประเมิน
     
    ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา  สนุกสนานในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียนมาก  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

   เพื่อน   สนใจในการเรียน  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

   อาจารย์   สอนได้สนุกและก็มีการยกตัวอย่างประกอบเสมอ  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย




  
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  7 
ประจำวันที่  23  กุมภาพันธ์  2558



        วันนี้งดการเรียนการสอน  เนื่องจากมีการสอบกลางภาค   แต่ในรายวิชานี้ไม่มีสอบ
แต่ดิฉันได้เตรียมตัวสอบในรายวิชาที่มีสอบโดยการ
  •    อ่านหนังสือ
  •  มีสมาธิในการสอบ
  • ตั้งใจทำข้อสอบอย่างสุดความสามรถ
** หลังจากที่สอบเสร็ ดิฉันก็มีความภาคภูมิใจที่ได้ทำข้อสอบอย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ดิฉันจะไม่เสียใจเลย เพราะ ดิฉันได้ตั้งใจทำจนเต้มที่แล้ว

 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  6
ประจำวันที่  16  กุมภาพันธ์  2558


 

HAPPY  BIRTHDAY.  อาจารย์
 
 
    
      ขอให้อาจารย์ เบียร์ มีความสุขมาก ๆ นะค่ะ คิดสิ่งใดขอให้สมหวัง สุขภาพร่างกายแข็งแรง  น่ารัก น่ารัก อย่างนี้ตลอดไปนะค่ะ