วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
ประจำวันที่  23  เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558

         สอบเก็บคะแนน 10  คะแนน  ในเรื่องต่าง ๆ ที่เรียนผ่าน ๆ มา โดยอาจารย์กำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ มาแล้วให้เขียนอภิปายตามคำถามที่อาจารย์ถาม
  5  ข้อ


ประเมิน 

     ตนเอง   ตั้งใจสอบ  เมื่ออ่านคำถามแล้ว ภาพอาจารย์ในเวลาที่สอนจะแว๊บเข้ามาในสมองทันที ทำให้เขียนตอบได้เร็ว ตามความเข้าใจ  ทำเต็มที่สุดความสามารถ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

    เพื่อน  ตั้งใจสอบมาก ทุกคนเคร่งเครียด

    อาจารย์    เข้าสอนตรงเวลา  คุมสอบได้แบบไม่มีโอกาสได้ลอกกันเด็ดขาดทั่วถึง  แต่ก็ยัง  น่า ให้ดูเอกสารประกอบการเรียนในตอนสอบได้  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  10
ประจำวันที่  16  เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

     กิจกรรมก่อนเรียน   เที่ยวไร่สตอเบอรี่


 
 

 
 
การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ     ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
 
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด 
การกินอยู่
เข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
 
 
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและเป็นผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
                                                            ** ความมั่นใจเกิดจาก
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
 
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  ( ใจแข็ง )
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กมากเกินไป   ทำให้แม้กระทั้งสิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้
  • ห้ามพูดคำว่า  หนูทำช้า  หนูยังทำไม่ได้
  • หากเด็กขอร้องเรื่องอะไรก็ช่วยเหลือ แค่เรื่องนั้น
  • การขอความช่วยเหลือบ่อยที่สุดคือการ เข้าห้องน้ำ
  • หากเด็กพิเศษทำช้า ต้องให้เด็กคนอื่นรอก่อน + การให้กำลังใจ  รอในบริเวณห้อง
  1. เพื่อความเสมอภาค
  2. ฝึกการรอคอย
  3. มีความสำคัญเท่ากัน
จะช่วยเมื่อไร
  • เด็กก็มีบางอารมณ์ที่ไม่อยากทำอะไร  หงุดหงิด  เบื่อ  ไม่ค่อยสบายตัว  งอแง
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว  ( สร้างความไว้ใจสำหรับ ครูกับนักเรียน )
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด้กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นการช่วยเหลือตนเอง
 
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อย ๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
 
การเข้าส้วม 
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตระกร้า
  • กดชักโครก หรือ ตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เด็กออกจากห้องส้วม
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้น ๆ
  • ความสำเร็จครั้งเล็ก ๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั้นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
 


กิจกรรม   ต้นไม้แห่งจิตใจ
  • ให้ดูว่า จุดกึ่งกลาางของกระดาษอยู่ตรงไหน  แล้วนำสีเทียน 1 สีมาจุดกึ่งกลาง
  • เปลี่ยนสีระบายรอบ ๆ เป็นวงกลม  ทำไปเรื่อย ๆ จนพอใจ
  • วาดโครงร่างต้นไม้  แล้วนำของเด็กทุกคนไปติดที่โครงต้นไม้

 
 
ข้อดี
 
  • ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก  ความคิดสร้างสรรค์
  • ได้คณิตศาสตร์  มิติสัมพันธ์ 
  • ได้ฝึกสมาธิ
  • ได้ความร่วมมือของบุคคลในห้องเรียน
  • ครูสังเกตเด็กจากการใช้สี  ลักษณะเส้น
 
นำไปใช้
  1. นำกิจกรรมนี้ไปบำบัดจิตใจตนเองได้ เพื่อสงบจิตสงบใจ และสีสันจะช่วยให้สดใสขึ้น
  2. สามารถนำไปใช้ในการ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนรวม ได้
 
ประเมิน
  
        ตนเอง   ตั้งใจเรียนมาก สนใจในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่  เข้าเรียนต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
       เพื่อน   สนใจในการเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 
 
      อาจารย์  สอนได้เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
 
 

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  9
ประจำวันที่  9  เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมก่อนเรียน
  •     เที่ยว ทุ่งหญ้าซาวันน่า 

หากนักศึกษาได้ นั่งรถเที่ยวท่ามกลางทุ่งหญ้าซาวันน่าอย่างมีความสุข แล้วนักศึกษาเกิดเห็นภาพนี้ จะรู้สึกอย่างไร ?




 














ตอบ  รู้สึกว่าเป็นวงจรชีวิต ที่จะต้องมีผู้ล่าและผู้ถูกล่า เป็นธรรมดา

   เฉลย  ความรู้สึของการเห็นภาพนี้ คือ การปลดปล่อยอารมณ์ ที่เราได้ดูหนัง XX ครั้งแรก

ความรู้ที่ได้รับ
   
 การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ                  ทักษะภาษา
ตัวอักษรสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องเขียนตัวกลม หัวเหลี่ยม เนื่องจาก ฝึกกล้ามเนื้อมือ

การวัดความสามาถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบเสนองเมื่อมีคนพูดดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่าง ๆ ไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตนเองกับผู้อื่นไหม
** ศัพท์แปลก ๆ หรือ หารแสดงท่าทาง

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
        เด็กพิเศา เหมือน เด็กอนุบาลทุกคน
  • การพูดตกหล่น
  • การพูดเสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • พูดติดอ่าง
** เด็กวัยอนุบาลใช้ภาษาได้ไม่สมบูรณ์แบบ
     เด็กวัยอนุบาลอวัยวะในการออกเสียงไม่แข็งแรง
     มีแบบวัดภาษาของเด็กปฐมวัย

การปฏิบัติของครูกับผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้า ๆ / ตามสบาย / คิดก่อนพูด   ( สำคัญ ห้ามเด็ดขาด )
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • ไม่เปลี่ยนมือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน  ควรสังเกตเด็กบ่อย ๆ
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
** เด็กพิเศษชอบสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด  อาจจะเป็นการแสดงท่าท่าง  เสียง 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา  ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน   ตามลำดับ
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ  ( บอกบท )
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและตอบโต้อย่างฉับไว ( ครูไม่พูดมากเกินไป )
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาเพียงการฟังอย่างเดียว  (ภาษาธรรมชาติ )
  • ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่ม
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง  โดยที่ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายแทนการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศารู้มากเท่าไร ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ครูทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์  ( Incidental Teaching )


 
 
ตัวอย่างเช่น
 
    น้องเป็นดาว์วินโดรม สวมผ้ากันเปื่อนพยายามมัดเชือกที่เอว  น้องต้องการให้ช่วย ผู้เชือกที่เอวให้ ( ครูรู้ว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือ )
หน้าที่ครู  คือ  เข้าไปใกล้ ๆ เด็กก็พอ เพื่อให้เด็กขอร้องให้ช่วย  โดยที่ครูไม่คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
ครูต้อง  ** บอกบท
ครูพูด  ไหนหนูผูกผ้ากันเปื้อนใช่ไหมค่ะ 
            พูดตามครูสิค่ะ  ผ้ากันเปื้อน  พูดซ้ำไปเรื่อย ๆ ผ้ากันเปื้อน
ครูตัดสินใจ คือ จะผูกให้ก็ต่อเมื่อ น้องพูดคำว่า ผ้ากันเปื้อน    แต่ถ้าหากน้องไม่พูดจริง ๆ ก็ผูกให้ไปเถอะ แต่ครูจะต้องพูดทุกครั้งที่ ทำการผูกผ้ากันเปื้อน  
**แล้วสักวันน้องจะพูดคำว่า ผ้ากันเปื้อน ได้เองสักวัน
 
กิจกรรมบำบัด  เด็กพิเศษ
    คำสั่ง
  • จับคู่ 2 คน
  • เปิดเพลงให้ฟัง
  • ลากเส้นไปพร้อม ๆ กับการฟังเพลง
  • ลากเส้นไปพร้อม ๆ กันทั้ง 2 คน  ให้เป็นเส้นตรงเท่านั้น  และห้ามยกสีขึ้น จนกว่าเพลงจะหยุด
  • ปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมจนเสร็จ  โดยที่มีบรรยากาศที่เงียบสงบ
  • จากนั้นดูภาพที่เป็น ช่องสามเหลี่ยม  ช่องสีเหลี่ยม แล้วระบายสีทุกช่อง 1 ช่อง 1 สี
 
 
 
 

 

 

 

 
 
ข้อดีในการทำกิจกรรม
  1. ฝึกสมาธิ  และ ได้ปลดปล่อยอารมณ์
  2. มิติสัมพันธ์
  3. ได้ส่งเสริมทักษะทางสังคม / ภาษา
** เด็กออสทิติก นิยมใช้การบำบัดวิธีนี้   และครูสามารถดูสภาพจิตใจของเด็กแต่ละคน จากการลากเส้น การใช้สีต่าง ๆ ในการระบายแต่ละช่อง
 
การนำไปใช้
  1. สามารถนำไปใช้ในการบำบัดได้ทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ
  2. สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กในห้องเรียนร่มได้ และร่มถึงการทำความเข้าใจให้ลึกซึ่งได้
 
ประเมิน
 
          ตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา   สนใจเรียน + กิจกรรมอย่างเต็มที่  สนุกสนานมีความสุขในการเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
          เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม + กรเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
         อาจารย์    เข้าสอนตรงต่อเวลา  สอนได้ชัดเจนมีการยกตัวอย่างประกอบเสมอ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
 
 
 
     


วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  8 
ประจำวันที่  2 มีนาคม  2558

กิจกรรมก่อนเรียน    รถไฟเหาะแห่งชีวิต



ความรู้ที่ได้รับ     การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษจำขาดทักษะทางสังคม  ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่  
  • สำคัญที่สุดของทักษะทางสังคม  คือ  การใช้ชีวิต  การช่วยเหลือตนเอง  การดำรงชีวิตประจำวัน
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่าง ๆ ดี
  • ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง
  • ทักษะทางสังคมขึ้นอยู่กับ  แต่ละบุคคล
  • สภาพแวดล้อมมีผลไม่มาก สำหรับทักษะทางสังคม
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม  การเล่นคือการเรียนรู้
  • เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด้กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรที่น่าสำรวจ สัมผัส ดึก ผลัก
Ex. เพื่อนยื่อนขวางประตู เด็กพิเศษจะเห้นเพียงว่านี่คือเส้นทางในการเดินออกประตู เห็นเพื่อนเป็นแค่สิ่งกีดขวางต้องกำจัดออกไป เด็กพิเศษจำเดินชน  ผลัก  หรือ ดึง เพื่อให้เพื่อนออกไปพ้นจากทาง

ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลาย ๆ คนไม่รู้วิธีการเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไรบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน  IEP.   
การกระตุ้นหรือเลียนแบบการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เด้กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก 3-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
  • การเล่นเป็นกลุ่ม  โดย 3 :  1   ต้องมีการเลือกที่เหมาะสม
  • หลักการเลือก  กลุ่มที่สามารถดูแลเพื่อนได้  สนิทสนม 
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

  • อยู่ใกล้ ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
  • ** ห้ามเด็ดขาด คือ การ ห้ามหันหลังให้เด็ก


กิจกรรมเล่นทราย
1.  ให้เด็กเล่นทรายมือเปล่า สักระยะหนึ่ง
2.  เอาอุปกรณ์ไปแจกที่ล่ะชิ้น โดยค่อย ๆ เพิ่มเพื่อดึงดูดความสนใจ  จากนั้นก็ค่อย ๆ ให้อุปกรณ์ไปเรื่อย   ๆ
Ex.  ให้อุปกรณืน้อยกว่าครึ่งของจำนวนเด็กเสมอ  เช่น  มีเด็ก 4 คน แจกอุปกรณ์ ให้น้อยกว่า  2  ถ้าหากน้องไม่ยอมเปลี่ยนให้เพื่อนเล่นให้ทำเป็นเกม  คือ  ให้เด้ก ๆ แต่ล่ะคนใช้ช้อนตักทรายคนล่ะ 10 ช้อน
ข้อเสีของการแจกอุปกรณ์ให้เด็กเล่นทั้งหมดคือ   ไม่เกิดการแบ่งปัน   เด็กเล่นไม่ครบทุกชิ้น

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย   การพูดนำของครู   เด็กพิเศษต้องการคำพูดชี้นำจากครูมาก
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่าง เหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กเป็นเรื่องต่อรอง
การประยุกย์ใช้
  1. สามรถใช้ไปจัดห้องเรียนแบบเรียนรวมให้น่าอยู่ มีความสุข เท่าเทียมกันและเสมอภาคที่สุด เพื่อความสุขของนักเรียน
  2. สามารถนำไปใช้อ่านสอบในรายวิชา การศึกษาแบบเรียนรวมได้
  3. ปรับเปลี่ยน ทัศนคติการมอง เด็กพิเศษ
ประเมิน
     
    ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา  สนุกสนานในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียนมาก  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

   เพื่อน   สนใจในการเรียน  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

   อาจารย์   สอนได้สนุกและก็มีการยกตัวอย่างประกอบเสมอ  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย




  
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  7 
ประจำวันที่  23  กุมภาพันธ์  2558



        วันนี้งดการเรียนการสอน  เนื่องจากมีการสอบกลางภาค   แต่ในรายวิชานี้ไม่มีสอบ
แต่ดิฉันได้เตรียมตัวสอบในรายวิชาที่มีสอบโดยการ
  •    อ่านหนังสือ
  •  มีสมาธิในการสอบ
  • ตั้งใจทำข้อสอบอย่างสุดความสามรถ
** หลังจากที่สอบเสร็ ดิฉันก็มีความภาคภูมิใจที่ได้ทำข้อสอบอย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ดิฉันจะไม่เสียใจเลย เพราะ ดิฉันได้ตั้งใจทำจนเต้มที่แล้ว

 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  6
ประจำวันที่  16  กุมภาพันธ์  2558


 

HAPPY  BIRTHDAY.  อาจารย์
 
 
    
      ขอให้อาจารย์ เบียร์ มีความสุขมาก ๆ นะค่ะ คิดสิ่งใดขอให้สมหวัง สุขภาพร่างกายแข็งแรง  น่ารัก น่ารัก อย่างนี้ตลอดไปนะค่ะ

 
 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  5
ประจำวันที่  9  กุมภาพันธ์  2558


กิจกรรมก่อนเรียน
      อาจารย์แจกอุปกรณ์ คือ  ถุงมือ แล้วใส่ข้างที่ไม่ถนัด  จากนั้นแจกกระดาษให้ 1 แผ่น  แล้วให้วาดรูปมือตามจิตนาการ ดูว่าเราจะจำมือที่ตนเองเห็น สัมผัส ทุกวัน อยู่ติดกับตัวเราตลอด  24  ชั่วโมง ได้หรือไม่

     จากนั้นเมื่อวาดเสร็จให้ถอดถุงมือและดูว่าเหมือนหรือไม่   และให้วาดมือของตนเองลงในกระดาษอีกครึ่ง โดยครั้งนี้ให้เรามองเห็นมือของตนเอง  วาดให้ออกมาเหมือนที่สุด






การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ



          ทักษะของครูและทัศนคติ      ต้องมีการปรับทัศนคติของตนเองซะก่อน   ให้มองเด้กพิเสษเหมือนเด็กคนหนึ่งทั่วไปในห้อง มองให้เหมือนเด็กปกติ   **ห้ามมองเด้กแบ่งแยก
           
 การฝึกเพิ่มเติม
  • การอบรมระยะสั้น   สัมมนา   ทางโรงเรียนมีการจัดให้  ( ไม่ต้องกังวล )
  • สื่อต่าง ๆ   อินเทอร์เน็ตีคำตอบ  หนังสือเด็กพิเศษ  แต่อ่านแล้วต้องกรอง ว่าสิ่งใดเป็นเท็จเป็นจริง ต้องดูให้เหมาะสมกับเด็กของเรา
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายกันมากกว่าต่างกัน   โดยเฉพาะพัฒนาการ    เด็กออทิสติก  พฤติกรรมที่ดี  พัฒนาการที่ดีจะมาจาก การเชื่อใจครู
  • ครูต้องเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กพิเศษและเด็กปกติ     เพื่อความเข้าใจเด็กโดยการ พูดคุย สนทนา ทักทาย ช่วยเหลือ และการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • มองเด้ให้เป็น  " เด็ก "    เด็กแต่ละคนต่างกัน   ต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคนทั้งชื่อเล่นและชื่อจริง
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการเด็ก จะช่วยให้สามารถมองเห็นควางแตกต่างของเด็กแต่ล่ะคนได้งาย
  • คุยเรื่องเด็ก พยายามคุยแต่เรื่องดี ๆ จดจำภาพลักษณ์ที่ดี
  • รู้อาการของเด็กเก็บไว้กับตัว  ปล. อย่าไว้ใจครูข้างห้อง
ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • แรงจูงใจ
  • โอกาส
** เด็กในห้องมีความพร้อมที่ใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่แรงจูงใจ  ครูมีหน้าที่สร้างแรงจูงใจให้เด็ก

การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิงมีโอกาสสอนมากเท่านั้น
  • เด็กพิเศษจะสนใจในการเรียน เมื่อสอนตัวต่อตัว
  • หลักสำคัญของครูห้องเรียนรวมคือ  ใจเย็น
  • เด็กจะวิ่งเข้ามาหาเมื่อมีปัญหา
  • การเชื่อมโยงสิ่งที่ทำอยู่  คือ เมื่อเกิดปัญหาแลัว ควรสอนจากปัญหา
  • ครูตั้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องสนใจเด็ก
  • ต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก   ในกรณ๊ที่อุปกรณืไม่เพียงพอ การแบ่งโต๊ะในการทำกิจกรรม  มีหลาย ๆ กิจกรรมจะช่วยได้
  • ต้องตั้งใจจริงที่จะทำให้เด็กเกิดความรู้
  • ครูต้องไม่ใช้เวลานานในการติดต่อกับเด็ก
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
  • สิ่งที่จะดึกความสนใจของเด็กมาก
  • มีลักษณะง่าย ๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะช่วยเหลื่อเด็กพิเศษ
  • สื่อ อุปกรณ์ จะต้องไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว  เช่น  บล็อก
  • สื่อต้องไม่แยกเพศ
ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมที่ดีสำหรับเด็กพิเศษจะต้องคาดเดาได้
  • จะทำให้เด้กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • คำนึกถึงความเหมาะสมแก่เวลา
ทัศนคติของครู


ความยืดหยุน
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ   ( การรับฟังผู้อื่น )
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่น ๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
  • ควรมีการแทรกการบำบัด  เช่น  การร้องเพลง  ดนตรี
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
     เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
  • เด็กทุกคนมีความสามรถอยู่ในตนเอง    ครูสำคัญมากในการมอบ  โอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม


 
 
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
 ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กสำคัญมาก
มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักจะเห็นผลในทันที
หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้น ๆ ก็จะลดลงและหายไปวิธีการใหแรงเสริมจากผู้ใหญ่
 
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  • สัมผัสทางกาย
  • ให้ความช่วยเหลือ  ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทุกครั้งที่เด็กทำพฤติกกรมที่ไม่พึงประสงค์
  • ครูให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท  ( Prompting )
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยาก ง่ายของงาน
  • การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  • การบอกบทจะค่อย ๆ น้องลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน  กำหนดจุดประสงค์ย่อย ๆ ในแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่าย ไป ยาก
  • ให้แรงเสริมทันทีที่เด็กทำได้ หรือ เมื่อ เด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด
  • ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งชิ้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น
  • ไม่ดุหรือตี
กำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความสุข
ความต่อเนื่อง
  • การเข้าห้องน้ำ
  • การนอนพักผ่อน
  • การหยิบ  หรือ  เก็บของ
  • การกลับบ้าน
เด็กตักซุป
 
 
  • การจับช้อน
  • การตัก
  • การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
  • การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หดรดคาง
  • การเอาซุปออกจากช้อนเข้าปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์ หรือ ของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากของเล่น
 

 การนำไปประยุกต์ใช้ Applications
 
1.   สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองที่สมีต่อเด้กพิเศษได้
 
2.   ทราบถึงการบอกบท และพร้อมที่จะนำไปใช้กับเด็กได้
 
3.   สามารถนำไปใช้กับเด็กพิเศษเมื่อเจอหรืออยู่ในสถานการณ์จริงได้
 
 
การประเมิน Assessment.
 
      ตนเอง   ตั้งใจเรียนดี  แต่งการสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา 
   
      เพื่อน   มีความสนใจเรียน  และทำกิจกรรมอย่างเต็มที่  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
 
    อาจารย์   สอนสนุกสนาน มีสาระ  พร้อมยกตัวอย่างประกอบในเนื้อหาที่เรียน  แต่งกายสุภาเรียบร้อยเหมาะสม  เข้าสอนตรงเวลา
 
 
 
 
 
 
     
     
     
 
     
 
 
  
 
 
 

 
 
 
 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  4
ประจำวันที่  2  กุภาพันธ์  2558


 
 

วันนี้งดการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจ