วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  3
ประจำวันที่ 26  มกราคม  2558

ความรู้ที่ได้รับ

** กิจกรรมก่อนเรียน





     บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
  • ครูไม่ควรวินิจฉัย หรือ ระบุอาการเด็ก เพราะอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภท  จะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีมีปมด้อย เพราะชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็ก
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ ควรพูดด้านบวกกับพ่อแม่ พูดในด้านที่ดีของเด็กหรือพูดในสิ่งที่น้องสามารถทำได้  
  • ครูควรให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
สิ่งที่ครูสามารถทำได้!!!
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการทั้ง 4  ด้านของเด็ก
  • ให้ข้อเสนอแนะในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผล หรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ คือการสังเกตอย่างภาพรวม และมีการจดบันทึกและวางแผน
**ไม่มีใครสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ ได้ดีเท่า  " ครู " ต่างจากแพทย์ นักจิตรวิทยา นักคลินิก เพราะมักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
  • ทำให้ทราบพฤติกรรมของเด็ก
  • เป็นแนวทางทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กมากขึ้น
  • บอกได้ว่า  เด็กต้องการความช่วยเหลืออะไร
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและการตัดสินใจล่วงหน้า
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ต้องใส่ใจ
  • พฤติกรรมบ้างอย่างของเด็กไม่ได้ปรากำให้เห็นเสมอ
  • สิ่งที่ห้าม  คือ  สิ่งที่ไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก
การบันทึกการสังเกต

     การนับอย่างง่าย ๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน  กี่ครั้งในแต่ล่ะชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
*** นับพฤติกรรมที่ไม่ดีที่เด็กแสดงออก
     การบันทึกต่อเนื่อง  ( ดีที่สุด )
  • ให้รายละอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง ( 15 นาที )
  • ไม่ต้องเข้าไปช่วยความช่วยเหลือ
     การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็ก ๆ
  • เป็นการบันทึกสั้น ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด้กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้ Applications


1. สามารถนำไปปรับใช้กับสถานการณ์จริง ๆ เมื่อได้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาเรียนรวม

 2. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอบได้

 3. ให้ความรู้กับผู้ปกครอง ผู้ที่สนใจ หรือ ผู้ที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรวมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 
การประเมิน Assessment.
ตนเอง       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้จริง ๆ ตั้งใจร้องเพลง
เพื่อน         สนใจในการเรียนระดับหนึ่ง มีการเรียนที่สนุกสนาน ตั้งใจทำงานก่อนการเรียน ร้องเพลงอย่างเต็มที่ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อาจารย์       น่ารัก สอนสนุก ไม่เครียด ยกตัวอย่างในเรื่องที่ใกล้ตัว สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา ร้องเพลงได้ไพเราะ



วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  2 
ประจำวัน  จันทร์  ที่  19  มกราคม  2558

ความรู้ที่ได้รับ

   การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   
เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้  หากได้รับการให้โอกาสเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
   การศึกษาแบบเรียนร่วม
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่เด็กทั่วไปและเด็กพิเศษได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • มีความร่วมมือกันระหว่างครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษ
   การเรียนร่วมบางเวลา
  • จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติได้บางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
  • มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก
   การเรียนร่วมเต็มเวลา
  • จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีความพิการในระดับน้อย  และต้องมีการคัดเลือกว่าเหมาะสม หรือไม่ มีห้องเรียนที่เปิดกว้าง ไม่มีการล้อเลียนกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจความแตกต่าง และยังเข้าใจว่าคนทุคนต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ความสนใจ เหมือนกัน
** อยู่ในความควบคุมของการศึกษาพิเศษ หรือ หน่วยเฉพาะทาง แล้วมีการติดต่อผสานงานกับโรงเรียน เพื่อให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนร่วม และต้องมีการเซ็กระดับความพิการ  ครูให้ความสนใจระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติเท่ากัน
   การศึกษาแบบเรียนรวม
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนร่วมตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุุคล
** เด็กเข้ามาสมัครโรงเรียนโดยไม่มีสังกัดของการศึกษาพิเศษใด ๆ เลย
  • ยึกปรัชญาของการอยู่ร่วมกัน  Lnclusion
  • ครูผู้สอน มีความรับผิชอบต่อสังคม เริ่มจาก พ่อ แม่ เด็ก
  • กิจกรรมที่นำไปสู่การสอนที่ดี  คิดอย่างรอบคอบ เด็กนต้องปฏิบัติกิจกรรมได้ทุกคน
  • โรงเรียนไม่มีสิทธฺ  " ปฏิเสธเด็ก "
  • ทุกคนยอมรับว่า มีผู้พิการอยู่ในสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยกกัน
** ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย**
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทีสุดของการเรียนรู้ 
  • " สอนได้ "
  • เป็นการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
**  ขีดจำกัด คือ สิ่งที่ขีดขวางในกระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมไม่ซับซ้อน เด็กทุกคนสามารถทำกิจกรรมได้  มุมต่าง ๆ สื่อ ต้องตอบสนองการเรียนรู้ของเด็ก
     คำว่า  " เปิดโอกาส "  สำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษ


การนำไปประยุกต์ใช้ Applications

  1. สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมในการศึกษาแบบเรียนรวม และ เรียนร่วมได้
  2. เข้าใจถึงความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวมและการศึกษาแบบเรียนร่วม เพื่อถ้ามีโอกาสได้เป็นครูผู้สอนในห้องที่มีเด็กพิเศษจะได้จัดสภาพห้องและเปิดโอกาสเด็กทุกคนมากขึ้น
  3. สามารถนำไปใช้ในการอ่าน สอบ ได้ เพื่อเป็นคะแนนในรายวิชา
คำศัพท์ Glossary
  1. การศึกษาปกติทั่วไป                           Regular Education
  2. การศึกษาพิเศษ                                  Special Education
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม                      Integrated Education  /  Mainstreaming
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม                      Inclusive Education

การประเมิน Assessment.


ตนเอง    ตั้งใจเรียนดีมาก  แต่งกายสุภาพเรียนร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา

เพื่อน      เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ตอบคำถามและสนุกในการเรียน

อาจารย์   เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา  สอนได้สนุกน่ารักค่ะ





วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  1 
ประจำวันที่  5 และ 12  มกราคม   2558

       อาจารย์ชี้แจงถึงข้อปฏิบัติ และข้อตกลงในการเรียน  ในรายวิชานี้ เน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
บล็อก  30  คะแนน
จิตพิสัย  20  คะแนน
แผน IEP 10 คะแนน
งานในห้อง  กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน  40  คะแนน
ห้ามสายเกิน  15  นาที
**อัพบล็อกขอภาพที่อาจารย์เบียร์  หน้าตาน่ารัก น่ารัก ไม่เอาตอนอาจารย์เผลอตัว

   เฉลยข้อสอบปลายภาค
  • การส่งเสริมออทิสติกต้องส่งเสริมด้านสังคมและการใช้ชีวิต
  • ห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก
  • PACS ใช้ชั่วคราวแทนการสื่อสาร
  • เด็กสมาธิสั้น  สามารถเรียนกับเด็กปกติได้โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ  EI  ช่วยเด็กพิเศษตั้งแต่แรกเริ่ม
  • น้องสินธัร เป็นโรคออทิสติกที่มีอาการสมาธิร่วมด้วย
  • กิจกรรมที่จะจัดให้กับน้องสินธัร  ต้องเปลี่ยนกิจกรรมเยอะ ๆ กิจกรรมต้องมีช่วงเวลาสั้น ๆ และแต่ละกิจกรรมต้องเสร็จ
** กิจกรรมภายในห้องเรียน
        ตอบคำถามเพื่อทบทวนความรู้เดิม
       ร่วมร้องเพลง  สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การนำไปประยุกต์ใช้  Applications.

  1. สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมให้แก่เด็กปฐมวัยได้
  2. สามารถนำความรู้ที่ได้มาทำความเข้าใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเด็กปกติให้อยู่ในห้องเรียนเดียวกันได้อย่างเข้าใจและสงบสุข
  3. สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคตได้


ประเมิน  Assessment.

ตนเอง   มีความตั้งใจในการเรียนดี  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่องเวลา  สนุกสนานในการร้องเพลงสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา  สนใจในการถาม - ตอบคำถามของอาจารย์  สนุกและสามัคคีในการผสานเสียงร้องเพลง  แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดีมาก

อาจารย์   สอนได้เข้าใจและสนุกสนาน  ร้องเพลงได้น่าฟัง เพลิดเพลินดี  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สุภาพน่ารัก  อ่อนโยน