วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  16 
ประจำวันที่  28  เมษายน  พ.ศ.  2558

 
** เรียนชดเชยในวันจันทร์  ที่  13  เมษายน  วันปีใหม่ไทย
 
ความรู้ที่ได้รับ
   
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  ( Individualized  Education  Program  )
 
แผน  IEP.
     เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศาแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถ  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  ดดยระบุเวลาเริ่มต้น และ สิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลของเด็ก
 
การเขียนแผน  IEP. 
     โดยครูประจำชั้น  พ่อแม่  แพทย์  ผู้เชี่ยวชาญเแพาะทาง  ผู้บริหารโรงเรียน  ** แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ครูประจำชั้นเป็นผู้เขียนเพียงคนเดียว **
      คัดแยกเด็กพิเศษ  เราต้องรู้จักเด็กอย่างท่องแท้  ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร  ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ ๆ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือ  เด็กจากจุดใหน  ในทักษะใด  แล้วจึงเริ่มทำการเขียนแผน  IEP.
      รู้ทั้งพฤติกรรมทั้งที่บ้าน และ ที่โรงเรียน  อยู่กับใคร  ที่บ้านมีใครบ้าง  ถนัด,จุดอ่อน พฟติกรรมที่ดี / ไม่ดี  ชอบ / ไม่ชอบอะไร
 
 
IEP.  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัว
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้ในขณะปัจจุบัน
  • ** เป้าหมายระยะยาวประจำปี  /  ระยะสั้น
  • ระบุวัน  /  เดือน  /  ปี  ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
** อนุบาล 1  เทอม  1  สามารถใช้แผนเหมือนเพื่อนได้ เพื่อเรียนรู้เด็ก  มีการจดบันทึก  พฤติกรรมเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปเขียนแผน  IEP.
 
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง 
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่าต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กได้เข้าเรียนจะไม่จัดอยู่ให้เข้าเรียนเฉย ๆ มีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนที่เหมาะสม
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • แนวทางในการประเมินผลการเรียน และการเขียนรายงานพัฒนาการความสามารถของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน IEP. เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้กับลูกของตน
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1. การรวบรวมข้อมูล    รายงานทางการแพทย์   รายงานการประเมินด้สนต่าง ๆ    บันทึกจากครู  ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. การจัดทำแผน    มีการนัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง  พร้อมทั้งกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น  กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม  และที่สำคัญจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
จุดมุ่งหมายระยะยาว
    กำหนดให้ชัดเจน  กว้าง ๆ เข้าใจง่าย  โดยกำหนดให้ระยะเวลาใน  1  ปีนี้เด็กต้องทำได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
    ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ  2-3 วัน  หรือ  2-3  สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไร  ที่ไหน  ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
เช่น     ใคร                                อรุณ
            อะไร                             กระโดดขาเดียว
            เมื่อไหร่ / ที่ไหน           กิจกรรมกลางแจ้ง
            ดีขนาดไหน                  กระโดดขาละ  5  ครั้งในเวลา  30  วินาที
 
     3.   การใช้แผน    ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น  ทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  ขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก   และจัดเตรียมสือ และ อุปกรณ์การสอน  มีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็กและความสามารถ  โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชีวัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสื่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
     4.  การประเมินผล    โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง  ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์การวัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือกิจกรรม     อาจใช้วิธีวัดและเกณฑ์กำหนดที่แตกต่างกัน **
 
 
 
กิจกรรมภายในห้อง
 
** เขียนแผน IEP. เป็นกลุ่ม  พร้อมทั้้งให้ทำข้อสอบเขียนแผน IEP. โดยจับคู่กับเพื่อนสนิทแล้วแลกเปลี่ยนกันเป็นเด็ก
 
** สอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
 
การนำไปประยุกต์ใช้
 
1.  สามารถนำเพลงที่ได้ร้องนั้นไปใช้ในการเก็บเด็กให้อยู่ในความสงบก่อนทำการสอน / จัดกิจกรรมได้
2.  สามารถนำแผน IEP. นั้นไปใช้เขียนเพื่อพัฒนาเด็กพิเศษได้
3.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผน  IEP.  มากขึ้น
 
 
การประเมิน
 
ตนเอง       ประเมินโดยภาพรวมในเทมอนี้เรียนราบวิชาการศึกษาแบบเรียนรวมนั้นมีความสุขดีมาก  พร้อมกระตือรือร้นที่จะเรียนมาก โดยการเข้าเรียนตรงต่อเวลาเกือบทุกครั้ง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  พร้อมทั้งมีการสนทนาโด้ตอบระหว่างเรียนด้วย โดยการตอบคำถามอาจารย์ทุกคำถามที่ถาม  สนใจในการทำกิจกรรม  และร่วมถึงการตั้งใจฝึกฝนร้องเพลงสำหรับเด็กมาก
 
เพื่อน        ประเมินโดยภาพรวม  เพื่อน ๆ ทุกคนน่ารักมากช่วยเหลือกันในทุกเรื่องที่ช่วยได้  ส่วนมากก็จะเข้าเรียนตรงเวลาเสมอ  แต่งกายผ่านค่ะสุภาพเรียบร้อย
 
อาจารย์    น่ารัก  สอนเข้าใจง่าย  มีการยกตัวอย่างประกอบเสมอเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น  เข้าสอนตรงเวลา พร้อมทั้งมีเกมสนุก ๆ ให้เล่นก่อนเข้าบทเรียนเสมอเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
 
 
 
 
     
     
     
     
 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  15
ประจำวันที่  20  เมษายน  พ.ศ.  2558


กิจกรรมก่อนเรียน
 
** ดิ่งพสุธา **
การปลดปล่อยอารมณ์


 
 


 การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
" ทักษะพื้นฐานทางการเรียน "
 
  • เป้าหมาย
     เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง  เด็กรู้สึกว่า  " ฉันทำได้ "  เป็นความรู้สึกดีต่อตนเอง  พัฒนาความกระตือรือร้น  ความอยากรู้อยากเห็น และอยากสำรวจ อยากทดลอง
  • ช่วงความสนใจ
     ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น ๆ จดจอต่อกิจกรรมในช่ววลาหนึ่งได้นานพอสมควร
-  เด็กปกติ  10  -  15  นาที
 
-  เด็กพิเศษ  ไม่เิน  5  นาทีเท่านั้น ** โดยเฉพาะเด็กสมาธิสั้น **
 
  • การเลียนแบบ
    วิธีการสอนเด็กพิเศษคือ  จับคู่เด็กพิเศษกับเด็กปกติ  แล้วครูเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนเพื่อตั้งตัว จากนั้นเรียอกชื่อเด็กปกติ แล้วบอกคำสั่ง  ** จะเกิดการเลียบแบบขึ้น คือเด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ
  • การเล่านิทานสำหรับเด็กพิเศษ
    มีเนื้อหาที่ไม่ยาว  5  -  6  หน้าต่อเรื่อง   นิทานมีความน่าสนใจ  มีสี  ภาพ  ลูกเล่นในนิทาาน
** อาทิตย์ต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ไร่ระดับความยามของเนื้อเรื่อง   กิจกรรมต่าง ๆ ควร" สั้น  กระชับ  ฉับไว  "
  • การทำตามคำสั้ง  และ  คำแนะนำ
    เด็กจะต้องได้ยินสิ่งที่ครูพูด / สั่งอย่างชัดเจน  รวมถึงการเข้าใจในคำศัพท์ที่ครูใช้ โดยการสังเกตจากบริบทต่างๆ ที่แสดงออกมา ว่า เด็กรู้จัก หรือไม่  และที่สำคัญคือ  คำสั่งต้องไม่ยุ่งยาก  ซับซ้อน ความมี  2  คำสั่ง
  • การรับรู้  การเคลื่อนไหว
    ได้ยิน  สัมผัส  ลิ้มรส  ได้กลิ้น  แล้ว  มีการตอบเสนองอย่างเหมาะสม
** เด็กพิเศษ  ประสาทสัมผัสทั้ง  5  จะช้ามากในการตองสนองความรู้สึกต่าง ๆ
  • การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
    กิจกรรม
-  การกรอกน้ำ  ตวงน้ำ
-  ต่อบล็อก
-  ศิลปะ
-  มุมบ้าน
-  การช่วยเหลือตนเอง
  • ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็ก
-  ลูกปัดขนาดใหญ่
-  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
 
 
 
 
 
  •    ความจำ  (  สิ่งที่ผ่านไปแล้วรอบ ๆ ตัวเด็ก  )
  จากการสนทนา  เช่น  เมื่อเช้าหนูทานอะไรมา??  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง ??  การจำตัวนิทาน  การจำชื่อครู  ชื่อเพื่อน ( ควรเรียกชื่อเด็กอย่างสม่ำสมอเพื่อให้เด็กพิเศษได้ิน  )  การเล่นเกมทายของที่หายไป
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
การนับ                                         สังเกต
การตรวจ / วัด                              สำรวจ
การจำแนก                                  ทดลอง
การเปรียบเทียบ
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
   จัดกลุ่มเด็ก  เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น  ๆ  ใช้งานเด็อย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน   ติดชื่อเด็กตามที่นั้ง  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย   เช่น  ระบายสีตรงนี้นะค่ะ  กระดาษแผ่นนี้นะค่ะ  ห้ามเลอะออกนอกกระดาษนะค่ะ    รวมถึงต้องมีการจดบันทึกเสมอว่าเด็กชอบอะไรที่สุด  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือเด็ก  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่เด็กจะมาถึง  โดยครูจะต้องพูในทางที่ดี  /  ทางบวกเสมอ  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว  และครูจัดกิจกรรมให้สนุกและน่าสนใจ
 
 
  
     
     การประยุกต์ใช้
     
    1.   สามารถนำไปจัดการเรียนแบบเรียนรวมได้  ระหว่าง  เด็กปกติ+เด็กพิเศษ
    2.  เข้าใจถึงธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น
    3.  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้
     
    การประเมิน
     
    ตนเอง    ตั้งใจเรียนดีมาก  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลาดี  ร่วมสนทนาและตอบคำถามอย่างสม่ำเสมอ  มีความสุขในการเรียนมากค่ะ
     
    เพื่อน     ตั้งใจเรียนดีพอสมควร  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนสาวนใหญ่ตรงต่อเวลาดี
     
    อาจารย์    แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เรียนสนุกสนานเข้าใจง่ายไม่เคร่งเครียดมากเกินไป ใส่ใจนักศึกษาเป็นอย่างดีพร้อมทั้งให้คำแนะนำตลอด  น่ารักค่ะ
     
     
     




วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  14
ประจำวันที่  15   เมษายน  พ.ศ.  2558

** งดการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันหยุด  วันปีใหม่ไทย
 

 

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  13
ประจำวันที่  6  เมษายน  พ.ศ.  2558
 
**  งดการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันหยุด 



 
 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  12 
ประจำวันที่  30  มีนาคม  พ.ศ.  2558




**  งดการเรียนการสอน  เนื่องจากย้ายมาเรียนวิชา  ศิลปสร้างสรรค์  ในเรื่องการเขียนแผนการสอนในกิจกรรม........สร้างสรรค์......


การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผน การเรียนการสอน ในกิจกรรมสร้างสรรค์ได้
2. ทำให้ทราบถึงการประเมินที่หลากหลาย และสอนคล้อง / เหมาะสมกับ พัฒนาการ
3. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในอนาคตได้


ประเมิน

ตนเอง ตั้งใจเรียนดี แต่การเขียนแผนกิจกรรมสร้างสรรค์นั้นต้องคิดกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับเด้กด้วย รวมถึงการประเมินนั้นต้องดูที่กระบวนการทำงานมากกว่า ชิ้นงาน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

เพื่อน เพื่อนมีจำนวนค่อนข้างเยอะ เนื่องจากสอนรวมทุกเกือบกลุ่ม เลยขาดสมาธีในการเรียน ไม่มีสมาธิเท่าที่ควร แต่งการเรียบร้อยดี

อาจารย์      คอยดูแลอยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ และคอยให้ปรึกษาแนะนำเพิ่อมเติม  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าสอนตรองเวลา  อาจารย์น่ารักเสมอ